วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564

การจัดการสารสนเทศ การสื่อสารและเทคโนโลยีสำหรับการเรียนรู้ในสถานศึกษา

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ: (1) ศึกษาระดับการปฏิบัติการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและเทคโนโลยีสำหรับการเรียนรู้ และเปรียบเทียบตามขนาดของสถานศึกษา; และ(2) ความต้องการในการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 136 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 272 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความแปรปรวนทางเดียว วิเคราะห์ข้อมูล และวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์  ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับการปฏิบัติการจัดการสารสนเทศ การสื่อสารและเทคโนโลยีสำหรับการเรียนรู้ ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายยุทธศาสตร์พบว่ายุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการพัฒนาการบริหารจัดการด้านการศึกษาและการบริการ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ส่วนยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ และยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง; ( 2) ผู้บริหารสถานศึกษามีความต้องการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ให้เหมาะสม พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการบริหารให้เป็นโปรแกรมสำหรับจัดการข้อมูลพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ในการวางแผนและตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ  พัฒนาการจัดทำสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

อรวรรณ ป้อมดำ  (2558) การจัดการสารสนเทศ การสื่อสารและเทคโนโลยีสำหรับการเรียนรู้ในสถานศึกษา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์  ปีที่ 5 ฉบับที่ 3  กันยายน-ธันวาคม 2558. หน้า 7-13.


กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6

 บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 3) เพื่อสร้างกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 และ 4) เพื่อประเมินกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ และการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 จำนวน 125 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือผู้รักษาราชการแทน ครู กรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครอง นักเรียน รวมทั้งหมด 500 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน จากค่าดัชนีความต้องการจำเป็น วิเคราะห์โอกาส ภาวะคุกคามและกำหนดกลยุทธ์โดยใช้รูปแบบของ SWOT Matrix และประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของกลยุทธ์จากผู้ทรงคุณวุฒิผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา มี 5 องค์ประกอบ คือ การมีอิทธิพลเชิงอุดมการณ์ การคำนึงถึงปัจเจกบุคคล การกระตุ้นทางปัญญา การสร้างแรงบันดาลใจ และการมีพฤติกรรมทางจริยธรรม
2. ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนามากเป็นลำดับที่หนึ่ง คือ การมีพฤติกรรมทางจริยธรรม โดยมีค่าดัชนีความต้องการจำเป็น เท่ากับ 0.27 รองลงมา คือ การกระตุ้นทางปัญญา การสร้างแรงบันดาลใจ การคำนึงถึงปัจเจกบุคคล และการมีอิทธิพลเชิงอุดมการณ์ โดยมีค่าดัชนีความต้องการจำเป็น เท่ากับ 0.26, 0.25, 0.20 และ 0.19 ตามลำดับ
3. กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 มี 5 กลยุทธ์หลัก คือ กลยุทธ์กระตุ้นพฤติกรรมทางจริยธรรม กลยุทธ์ส่งเสริมการกระตุ้นทางปัญญา กลยุทธ์ส่งเสริมการสร้างแรงบันดาลใจ กลยุทธ์มุ่งเน้นความสำคัญของปัจเจกบุคคล และกลยุทธ์เสริมสร้างอิทธิพลเชิงอุดมการณ์ โดยมี 19
กลยุทธ์รองและ 92 แนวทางปฏิบัติ
4. การประเมินกลยุทธ์ ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.84 และความเป็นไปได้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75



นายทัพพ์นิธิศ ปิ่นภัคพูลลดา  (2560)  กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6.  กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.


ภาวะผู้นำเชิงพุทธกับการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทย



ภาวะผู้นำเชิงพุทธกับการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทย
  
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาการจัดการปัญหาความขัดแย้งตามแนวพระพุทธศาสนา ๓) เพื่อศึกษาแนวทางการนำหลักภาวะผู้นำเชิงพุทธมาใช้เพื่อจัดการความขัดแย้งในสังคมไทย จากการศึกษาพบว่า ภาวะผู้นำเชิงพุทธนั้นมีลักษณะอยู่ ๓ อย่าง คือ ๑) คุณลักษณะภายนอก คือ มีรูปร่างสง่างาม น่าเคารพศรัทธาเลื่อมใส ตลอดทั้งมีพละกำลังแข็งแรง สุขภาพที่ดี และมีความเพียร ๒) คุณลักษณะภายใน คือมีความรู้ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความชำนาญในงาน มีมนุษย์สัมพันธ์ดี ๓) มีความแตกต่างจากบุคคลอื่น ซึ่งความแตกต่างนี้จะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความเคารพนับถือมีความเชื่อมั่นมีความเชื่อฟังอย่างจริงใจ วิถีทางของการที่จะเป็นผู้นำที่ดีซึ่งมีหลักธรรมหรือคุณธรรมในทางพระพุทธศาสนาที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้สำหรับผู้นำ ที่นำมากล่าวไว้ในงานวิจัยนี้ มีจำนวน ๒๐ หลักธรรม คือ ๑)ทศพิธราชธรรม ๒) จักรวรรดิวัตรธรรม ๓) อธิปไตย ๔) ราชสังคหวัตถุธรรม ๕) สังคหวัตถุธรรม ๖) พรหมวิหารธรรม ๗) อคติธรรม ๘) อิทธิบาทธรรม ๙) พลธรรม ๑๐) สัปปุริสธรรม ๑๑) อปริหานิยธรรม ๑๒) กัลยาณมิตรธรรม ๑๓) สารณียธรรม ๑๔) อริยทรัพย์ธรรม ๑๕) บารมีธรรม ๑๖) คหบดีธรรม ๑๗) คุณธรรม ๑๘) ยุติธรรม ๑๙) อธิษฐานธรรม ๒๐) ขันติโสรัจจธรรม โดยแบ่งเป็น ๓ กลุ่มหลักธรรมของผู้นำ ดังนี้ คือ ๑) หลักธรรมสำหรับครองตน ได้แก่ เบญจศีลเบญจธรรม สัปปุริสธรรม พลธรรม อคติธรรม อธิษฐานธรรม ขันติโสรัจจธรรม คุณธรรม อริยทรัพยธรรม ๒) หลักธรรมสำหรับครองคน ได้แก่ พรหมวิหารธรรม บารมีธรรม ราชสังคหวัตถุธรรม สังคหวัตถุธรรม พลธรรม ทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตรธรรม คหบดีธรรม อธิปไตย กัลยาณมิตรธรรม อริยทรัพยธรรม ยุติธรรม อคติธรรม ๓) หลักธรรมสำหรับการครองงาน ได้แก่ อิทธิบาทธรรม สาราณียธรรม อปริหานิยธรรม อริยทรัพยธรรม กัลยาณมิตรธรรม ยุติธรรม พลธรรม อคติธรรม หลักธรรม หรือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น ถึงแม้ว่าจะมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล จนถึงปัจจุบันเป็นเวลานับพันปีแล้ว แต่ทุกหลักธรรมยังคงทันสมัยอยู่เสมอ สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นเครื่องดำเนินชีวิตและแนวทางในการบริหารงานได้เป็นอย่างดี การจัดการความขัดแย้งตามแนวพระพุทธศาสนา จากการศึกษาพบว่า เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำให้ลุล่วงไป มี ๔ ประการ คือ ๑) วิวาทาธิกรณ์ ๒) อนุวาทาธิกรณ์ ๓) อาปัตตาธิกรณ์ ๔) กิจจาธิกรณ์ และอธิกรณสมถะเป็นชื่อแห่งสิกขาบทหรือสิกขาบทแห่งธรรม แปลว่า “สำหรับระงับอธิกรณ์” มี ๗ ประการ คือ ๑. สัมมุขาวินัย แปลว่า ระเบียบอันจะพึงทำในที่พร้อมหน้า ๒. สติวินัย แปลว่า ระเบียบยกเอาสติขึ้นเป็นหลัก ให้สมมติ เพื่อการรับรู้ร่วมกัน ๓. อมูฬหวินัย แปลว่า ระเบียบที่ให้แก่ภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้ว ๔. ปฏิญญาตกรณะ แปลว่า ทำตามรับ ๕. เยภุยยสิกา แปลว่า ตัดสินตามคำของคนมากเป็นประมาณ ๖. ตัสสปาปิยสิกา แปลว่า กิริยาที่ลงโทษแก่ผู้ผิด ๗. ติณวัตถารกวินัย แปลว่า ระเบียบดังกลบไว้ด้วยหญ้า การนำหลักภาวะผู้นำเชิงพุทธมาใช้เพื่อจัดการความขัดแย้งในสังคมไทย การศึกษาวิจัย พบว่า ภาวะของผู้นำเชิงพุทธที่จะสามารถจัดการความขัดแย้งในสังคมไทยได้ดีนั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการนำหลักธรรมมาใช้ในการปกครองตน ปกครองคน และปกครองงาน โดยมีหลักธรรมที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในการบริหารจัดการองค์กรนั้น โดยหลักการสร้างความสามัคคีปรองดองให้เกิดขึ้นในสังคมซึ่งเป็นหลักคิดหลักธรรมในการทำงานร่วมกันในองค์กร และอยู่ร่วมกันในสังคม มีอยู่ ๑๐ ขั้นตอนในเบื้องต้น ที่จะนำสันติสุข สันติภาพ และภารดรภาพมาสู่องค์กรและสังคมได้ คือ ๑. มองกันในแง่ดี ๒. มีไมตรีจิตที่ดีต่อกัน ๓. สร้างสรรค์ความดี ๔. นึกถึงความดีของกัน ๕. ร่วมกันรักษามีระเบียบวินัย ๖. มีหัวใจพระพรหม ๗. สร้างสมความสามัคคี ๘. มั่งมีความเสียสละ ๙. ลดมานะทิฏฐิ ๑๐. ไม่อคติต่อกัน
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: กรุงเทพมหานคร

พระเทพปริยัติเมธี (สฤษฏิ์ สิริธโร) (2557) ภาวะผู้นำเชิงพุทธกับการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทย  
วิทยานิพนธ์  พุทธศาสตรมหาบัณฑิต   สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย



วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2564

Blogger นักศึกษาปริญญาโท บริหารการศึกษา ม.ธนบุรี รุ่นที่ 7

 Blogger นักศึกษาปริญญาโท บริหารการศึกษา ม.ธนบุรี รุ่นที่ 7

https://suchanyapam.blogspot.com

https://manidatukta2524.blogspot.com

https://sanjitaklayprayong.blogspot.com

https://kruweerayut01.blogspot.com

https://pongthepniyomthai.blogspot.com

https://noorfadilah2534.blogspot.com

https://kanoktip2536.blogspot.com

https://supannee-suna.blogspot.com

https://chaitobuddee.blogspot.com

https://teerapongsuksomsong.blogspot.com

https://witsarut-benz238.blogspot.com

https://phakornkiat.blogspot.com

https://nitid-hengchoochip.blogspot.com

https://chonthichadeebucha.blogspot.com

https://nopparataunprasert.blogspot.com

https://chaichaofa.blogspot.com

https://voraponbabyboss.blogspot.com

https://chenchira2021.blogspot.com

https://nattidadechakkanat.blogspot.com

https://khunmuangchukorn.blogspot.com

https://anupong12tu.blogspot.com

https://sutthananabangchang.blogspot.com

https://sattawatsurisan.blogspot.com

https://thanchanokluarnkrew.blogspot.com

https://supaporn1204.blogspot.com

https://vigaivaraporn.blogspot.com

https://nisachonyimprasert.blogspot.com


โปรเเกรม e-GP


โปรแกรม  e-GP 

ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์





โปรแกรม  e-GP    www.gprocurement.go.th

คู่มือการใช้โปรแกรม  http://203.157.7.98/store/fileupload_doc/2017-09-13-3-17-2497376.






ประวัติ

 



ประวัติส่วนตัว  

ชื่อ - นามสกุล นางสาวธันย์ชนก  หลวนเกียว

สถานที่ทำงาน (ปัจจุบัน) โรงเรียนบ้านคลอเเค

ที่อยู่ 500 หมู 2 ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มเเบน จ.สมุทรสาคร 74130

เบอร์โทรศัพท์  098-8723094

อายุ 28 ปี

วุฒิการศึกษา

- ปริญญาตรี

คณะครุศาสตรบัณฑิต (คบ.) วิชาเอก สังคมศึกษา  (เกียรตินิยมอันดับ 1)

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

การใช้โปรเเกรม e - GP

 การใช้โปรเเกรม e - GP คู่มือการใช้งานระบบ e-GP  กรณีจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง http://203.157.7.98/store/fileupload_doc/2017-09-13-3-...