วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

การใช้โปรเเกรม e - GP

 การใช้โปรเเกรม e - GP










คู่มือการใช้งานระบบ e-GP  กรณีจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
http://203.157.7.98/store/fileupload_doc/2017-09-13-3-17-2497376.


คู่มือการเสนอราคา  (e-bidding) โดยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

21 คุณสมบัติของผู้นำ ที่ไม่มีไม่ได้ by John C Maxwell

 

  21 คุณสมบัติของผู้นำ ที่ไม่มีไม่ได้  by John C Maxwell



The Leadership Gap in Education

Tarbutton, Tanya

Multicultural Education, v27 n1 p19-21 Fall 2019
Women are more visible than men in almost every area of education; however, they are underrepresented in top-tier leadership positions. There is no shortage of female educators; however, there is a shortage of female leaders. Scholars have highlighted this discrepancy, shedding light on a century-old problem. This article explores some of the reasons women are underrepresented in top-tier leadership positions within educational institutions and identifies possible solutions for addressing the problem. To fully comprehend the issue, a brief historical context is provided to introduce the topic.
Caddo Gap Press. 3145 Geary Boulevard PMB 275, San Francisco, CA 94118. Tel: 415-666-3012; Fax: 415-666-3552; e-mail: caddogap@aol.com; Web site: http://www.caddogap.com
Publication Type: Journal Articles; Reports - Evaluative
Education Level: N/A
Audience: N/A
Language: English
Sponsor: N/A
Authoring Institution: N/A

Tarbutton T. (2019) The Leadership Gap in Education. Multicultural Education, V.27 , 

No.1 ;  pp.19-21. 


Download full text

https://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ1250147.pdf


Educational Administration and the Management of Knowledge: 1980 Revisited



Bates, Richard
Journal of Educational Administration and History, v45 n2 p189-200 2013
This paper revisits the thesis of a 1980 paper that suggested a new approach to educational administration based upon the New Sociology of Education. In particular it updates answers to the six key questions asked by that paper: what counts as knowledge; how is what counts as knowledge organised; how is what counts as knowledge transmitted; how is access to what counts as knowledge determined; what are the processes of control; what ideological appeals justify the system. These questions were foundational in the development of a socially critical perspective and a cultural approach to educational leadership and administration.
Routledge. Available from: Taylor & Francis, Ltd. 325 Chestnut Street Suite 800, Philadelphia, PA 19106. Tel: 800-354-1420; Fax: 215-625-2940; Web site: http://www.tandf.co.uk/journals
Publication Type: Journal Articles; Reports - Descriptive
Education Level: Elementary Secondary Education; Higher Education
Audience: N/A
Language: English
Sponsor: N/A
Authoring Institution: N/A


Richard B. (2013)  Educational Administration and the Management of Knowledge: 1980 Revisited  Journal of Educational Administration and History, V.45 , No.2 ; pp.189-200.

สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7

สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7

Creator

Name: นิวัตร ใจช่วง

Subject

keyword: เทคโนโลยีสารสนเทศ -การบริหาร -ผู้บริหารสถานศึกษา -เทคโนโลยีสารสนเทศ

Classification :.DDC: 371.33 673 2558

Description

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู 2) เปรียบเทียบสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู จำแนกตามสถานภาพและขนาดสถานศึกษา และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 กลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการครู สังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 487 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.336 - 0.812 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .947 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบสมมติฐานโดยใช้ สถิติ t – test (Independent Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว แบบ (One-way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความคิดเห็นของผู้บริหารและครูต่อสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 7 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหาร งานบุคคล รองลงมา ได้แก่ ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงานทั่วไป และด้านการบริหาร งานงบประมาณ ตามลำดับ 2) ผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นต่อสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 7 ทั้งภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของผู้บริหารและครูต่อสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 7 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 4) ข้อเสนอแนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาใน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 7 ที่สำคัญมีดังนี้ ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดกิจกรรมเรียนการสอน แสวงหาความรู้เพิ่มเติ่มเรื่องการใช้ ICT อย่างสม่ำเสมอ ควรดำเนินการพัฒนาห้องคอมพิวเตอร์ให้ทันสมัย ควรใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการมอบหมายงาน การจัดเก็บทะเบียนประวัติ ส่งเสริมให้ครูมีความสนใจเกี่ยวกับความกว้าหน้าในวิชาชีพ และพัฒนาตนเองด้วยการค้นคว้าผ่านระบบ ICT/online ควรจัดทำแผนงานโครงการที่เกี่ยวข้อง และจัดสรรงบประมาณด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเพียงพอ โดยระดมทรัพยากรและงบประมาณจากภายนอก และควรใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานงบประมาณ ควรติดตามประเมินผลการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เก็บข้อมูลเป็นระบบ สะดวกในการสืบค้น มีการประชาสัมพันธ์โรงเรียนผ่านทางเว็บไซด์

Publisher

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

นิวัตร ใจช่วง  (2558)  สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของผู้บริหารสภานศึกษาในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7  วิทยานิพนธ์  มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความยืดหยุ่นเชิงกลยุทธ์ ศักยภาพด้านกระบวนการจัดการความรู้และความสามารถด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงต่อประสิทธิผลขององค์การ

อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความยืดหยุ่นเชิงกลยุทธ์ ศักยภาพด้านกระบวนการจัดการความรู้และความสามารถด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงต่อประสิทธิผลขององค์การ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อความยืดหยุ่นเชิงกลยุทธ์ อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อศักยภาพด้านกระบวนการจัดการความรู้และความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลง อิทธิพลของความยืดหยุ่นเชิงกลยุทธ์ที่มีต่อศักยภาพด้านกระบวนการจัดการความรู้และความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลง และอิทธิพลของศักยภาพด้านกระบวนการจัดการความรู้ และความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ที่มีต่อประสิทธิผลขององค์การ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารระดับผู้อำนวยการส่วน กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 200 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายและแบบพหุคูณ การวิเคราะห์ความถดถอยอย่างง่ายและแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความยืดหยุ่นเชิงกลยุทธ์ ศักยภาพด้านกระบวนการจัดการความรู้ ความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลง และประสิทธิผลขององค์การในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยพบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลทางบวกต่อความยืดหยุ่นเชิงกลยุทธ์ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลทางบวกต่อศักยภาพด้านกระบวนการจัดการความรู้ และความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ความยืดหยุ่นเชิงกลยุทธ์มีอิทธิพลทางบวกต่อศักยภาพด้านกระบวนการจัดการความรู้และความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลง  ศักยภาพด้านกระบวนการจัดการความรู้ และความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลทางบวกต่อประสิทธิผลขององค์การ ซึ่งผลจากการศึกษาครั้งนี้ จะทำให้ผู้บริหารกรมชลประทานสามารถกำหนดแนวทางในการวางแผนยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ ในด้านการพัฒนาบุคลากรให้มีองค์ความรู้ด้านการจัดการความรู้มากขึ้น พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและฐานข้อมูล และปรับปรุงเครื่องมือการจัดการความรู้ ให้สอดคล้องกับบริบทการทำงานของหน่วยงานภายในกรมชลประทาน มากยิ่งขึ้น



วริษฐ์  ทองจุไรเเละวิโรจน์  เจษฎาลักษณ์ (2558) อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความยืดหยุ่นเชิงกลยุทธ์ ศักยภาพด้านกระบวนการจัดการความรู้และความสามารถด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงต่อประสิทธิผลขององค์การ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์  และศิลปะ   ปีที่ 8  ฉบับที่ 3  กันยายน ธันวาคม 2558. หน้า 793-810.



การใช้โปรเเกรม e - GP

 การใช้โปรเเกรม e - GP คู่มือการใช้งานระบบ e-GP  กรณีจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง http://203.157.7.98/store/fileupload_doc/2017-09-13-3-...