การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ: (1) ศึกษาระดับการปฏิบัติการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและเทคโนโลยีสำหรับการเรียนรู้ และเปรียบเทียบตามขนาดของสถานศึกษา; และ(2) ความต้องการในการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 136 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 272 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความแปรปรวนทางเดียว วิเคราะห์ข้อมูล และวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับการปฏิบัติการจัดการสารสนเทศ การสื่อสารและเทคโนโลยีสำหรับการเรียนรู้ ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายยุทธศาสตร์พบว่ายุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการพัฒนาการบริหารจัดการด้านการศึกษาและการบริการ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ส่วนยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ และยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง; ( 2) ผู้บริหารสถานศึกษามีความต้องการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ให้เหมาะสม พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการบริหารให้เป็นโปรแกรมสำหรับจัดการข้อมูลพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ในการวางแผนและตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาการจัดทำสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
การใช้โปรเเกรม e - GP
การใช้โปรเเกรม e - GP คู่มือการใช้งานระบบ e-GP กรณีจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง http://203.157.7.98/store/fileupload_doc/2017-09-13-3-...
-
21 คุณสมบัติของผู้นำ ที่ไม่มีไม่ได้ by John C Maxwell
-
Bates, Richard Journal of Educational Administration and History , v45 n2 p189-200 2013 This paper revisits the thesis of a 1980 paper that ...
-
Title ภาวะผู้นำเชิงพุทธกับการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทย Creator Name: พระเทพปริยัติเมธี (สฤษฏิ์ สิริธโร), ผศ.ดร. Description Abstract:...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น